1. การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
  แนวทางการพัฒนา

1.1  พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  สระ  ประปา  บ่อน้ำตื้น  บ่อ บาดาล  ถังเก็บน้ำ  โอ่งน้ำ  เป็นต้น
1.2  พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  เหมืองฝาย  อ่างเก็บน้ำ  ขุดลอกคู-คลอง คลองส่งน้ำขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร เป็นต้น

2. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
2.1  ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน สะพาน  ท่อระบายน้ำและรางระบายน้ำ  ได้แก่กิจกรรม  เกี่ยวกับการคมนาคมทางบก  ถนน  สะพาน  รางระบายน้ำ  เป็นต้น
2.2  สนับสนุนให้มีการขยายเขตไฟฟ้าและติดตั้งไฟส่องสว่างทางสาธารณะ  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับการ สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ  ไฟฟ้าสาธารณะ  การขยายเขตไฟฟ้าการติดตั้งและการบำรุงรักษาไฟส่องสว่างทางสาธารณะ  เป็นต้น

3. การพัฒนาด้านคนและสังคม
แนวทางการพัฒนา
3.1  ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน   การควบคุมและระวังโรคติดต่อ  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ การรณรงค์ด้านสุขภาพการสนับสนุนหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและระวังโรคติดต่อ เช่น  สถานีอนามัย  ปศุสัตว์จังหวัด  เป็นต้น
3.2  การส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของเด็ก  เยาวชน  และประชาชนทั่วไป ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ การถ่ายโอนงานการศึกษา  เช่น  การจัดซื้ออาหารเสริม  (นม)  อาหารกลางวันของโรงเรียน  และ  การถ่ายโอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  การส่งเสริมการเรียนรู้ให้ชุมชน  เป็นต้น
3.3  ส่งเสริมประเพณีอันดีงาม  กิจการศาสนา  สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ ดนตรี   พื้นบ้าน  สร้างศาสนสถาน เมรุ  การจัดงานประเพณีต่าง ๆ  เป็นต้น
3.4  การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  เสียงตามสาย  หอกระจายข่าว อาคาร  อเนกประสงค์  แผนชุมชน  เป็นต้น
3.5  การนันทนาการและส่งเสริมกิจกรรมการกีฬา  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การจัดการแข่งขันกีฬาทุกระดับ การสร้างลานกีฬาสนามเด็กเล่นพร้อมอุปกรณ์เครื่องเล่น  การจัดซื้ออุปกรณ์กีฬา  เป็นต้น
3.6 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การรณรงค์  ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดการสนับสนุนการดำเนินงาน ของศูนย์ขวัญน่าน  การส่งเสริมผู้ ผ่านการบำบัดยาเสพติดให้กลับสู่สังคม  เป็นต้น
3.7 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยการป้องกัน ภัย  เป็นต้น
3.8  จัดสวัสดิการและสังคมสงเคราะห์แก่ผู้ด้อยโอกาส  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ    และเด็กผู้ด้อยโอกาสขาดแคลนผู้อุปการะ เป็นต้น

4. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
4.1  การส่งเสริมการประกอบอาชีพ  และยกระดับรายได้  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การสร้างงาน  สร้างอาชีพ  พัฒนาฝีมือแรงงาน  เป็นต้น
4.2  สนับสนุนธุรกิจร้านค้าชุมชน  กองทุนต่าง ๆ  ในตำบล  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การก่อตั้งร้านค้าชุมชนและสร้างแหล่งทุนหมุนเวียน  การสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจในชุมชน    จัดหาตลาดกลางเป็นต้น
4.3  สนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การเพิ่มทักษะด้านอาชีพ  การสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม  เป็นต้น

5. การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
5.1  การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับดิน  ป่าไม้ อากาศ  แหล่งน้ำ
5.2  การป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การหาแนวทางวิธีการ  ป้องกันการทำลาย  ดิน  น้ำ  ป่าไม้  อากาศ  เช่น  จัดตั้งกลุ่มดูแลรักษา  การออกกฎระเบียบชุมชน  ตำบล  เป็นต้น
5.3  การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การรักษาความสะอาด  การเก็บขนการทำลาย  การลดปริมาณขยะและสิ่งปฏิกูล  เป็นต้น
5.4  กิจกรรมป่าชุมชน  และการจัดระเบียบป่าชุมชน ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การปลูกป่า  การอนุรักษ์การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน  เป็นต้น

6. การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารจัดการและการบริการ
แนวทางการพัฒนา
6.1  การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในรูปประชาคม  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การจัดเวทีประชาคมเพื่อ ตัดสินใจวางแผนพัฒนา  และการตรวจสอบ  เป็นต้น
6.2  การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการงานของ อบต.  และการบริหารปกครองตามระบอบประชาธิปไตย  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ   การรณรงค์การเลือกตั้ง  การจัดการเลือกตั้งทั่วไป  และ เลือกตั้งซ่อมนายกและสมาชิกสภา อบต.  เป็นต้น
6.3  การพัฒนาบุคลากร  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การอบรมพัฒนาพนักงานส่วนตำบลและสมาชิกสภา อบต.ให้มีความรู้  คุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน  การศึกษาดูงาน  การประเมินผลงาน/ เลื่อนขึ้นเงินเดือนพนักงานและลูกจ้าง  เป็นต้น
6.4  การพัฒนารายได้  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การปรับปรุงแหล่งรายได้  วิธีการหารายได้  ระบบการจัดเก็บภาษี  การทำกิจการพาณิชย์ของ อบต.  เป็นต้น
6.5 การจัดหาและปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงานให้เพียงพอ มีประสิทธิภาพ  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การพัฒนาสถานที่ทำงาน    การปรับปรุงและบำรุงรักษา  การจัดหาวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน  เช่น  การจัดซื้อรถยนต์  เครื่องคอมพิวเตอร์  เครื่องถ่ายเอกสาร  เป็นต้น
6.6 การให้บริการประชาชน  ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ  การจัดให้มีการบริการประชาชนทั้งในและนอกสำนักงานการขยายเวลาการให้บริการ การอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่องานต่างๆ การ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ  ให้ประชาชนทราบ  เป็นต้น
6.7 การบริหารจัดการองค์กร ได้แก่กิจกรรมเกี่ยวกับ การประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของ อบต. การจัดกิจกรรมสนองนโยบายของรัฐ เป็นต้น

 

องค์การบริหารส่วนตำบลอ่ายนาไลย
เลขที่ 35 หมู่ 2 บ้านนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน 55110
โทรศัพท์. 054-690910 www.a
inalai.go.th